ควรรู้! อาการของโรค / วิธีการป้องกัน รับมือ”ไวรัสโคโรน่า”

1122 Views  | 

ควรรู้! อาการของโรค / วิธีการป้องกัน รับมือ”ไวรัสโคโรน่า”

“ไวรัสโคโรน่า” หรือ “ไวรัสอู่ฮั่น” ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดอยู่เกือบทั่วทุกมุมโลกในตอนนี้ โดยประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงมากในการแพร่ระบาด ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อแล้ว 19 คน และมีแนวโน้มจะแพร่ระบาดมากขึ้น วันนี้มาสรุปข้อมูลควรรู้ต่างๆเกี่ยวกับไวรัสชนิดนี้ เพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันภัยอันตรายที่อาจสงผลต่อชีวิตของตัวคุณเองหรือคนใกช้ชิด และสามารถรับมือกันมันได้อย่างถูกวิธี

แหล่งกำเนิด : ไวรัสโคโรน่าถูกยืนยันแล้วว่ามีแหล่งกำเนิดมาจากตลาดค้าขายเนื้อสัตว์ป่า ในมณฑลอู่ฮั่น ประเทศจีน ที่คาดว่าแพร่มาจากงูที่กินค้างคาวมีเชื้อโรคเข้าไป และคนนำงูเหล่านี้มาขายต่อจึงแพร่สู่คนในขั้นตอนการชำแหละเนื้องู แต่ในขณะนี้ทางการจีนได้สั่งปิดตลาดแห่งนี้แบบไม่มีกำหนดเป็นที่เรียบร้อย และเราควรเลือกทานอาหารที่มั่นใจได้ว่าปลอดภัยปราศจากเชื้อโรค



Cr. Photo by : media.ifrc.org

วิธีการติดต่อ : ไวรัสโคโรน่าสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ โดยสามาถติดต่อได้หลายทาง เช่น การสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย สามารถเข้าสู่รายการได้หลายทาง เช่น เยื่อบุทางเดินหายใจ ตา จมูก ปาก อธิบายให้ชัดเจนก็คือ ถ้าอากาศโดยรอบมีเชื้อไวรัสโคโรน่าลอยอยู่ อาจเกิดจากการที่ผู้ป่วยไอหรือจามออกมา เราสามารถติดเชื้อไวรัสโคโรน่าได้ผ่านทางการหายใจ แต่โอกาสจะน้อยกว่าการสัมผัสสารคัดหลั่ง(น้ำมูก น้ำลาย)โดยตรง (การเดินสวนกันไปมา ไม่ทำให้เกิดการติดโรคนี้ แต่การอยู่ในระยะใกล้ ในการพูดคุยหรือมีการในจาม และมีฝอยละอองกระเด็นมาถูกบริเวณใบหน้า จะทำให้เกิดการติดโรคนี้ได้ การสัมผัสจะต้องหมั่นล้างมือ)



วิธีการป้องกัน :ข้อแนะนำจากองค์การอนามัยโลก และกรมควบคุมโรค มีดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีคนพลุกพล่าน
2. อยู่ห่างจากคนที่ไอหรือจาม 180 เซนติเมตร เพื่อให้พ้นจากรัศมีน้ำลายและน้ำมูก
3. สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ หรือต้องติดต่อกับผู้ที่มีอาการป่วย
4. ไม่ทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก และหลีกเลี่ยงการสัมผัส ตลาดค้า หรือสินค้าจากสัตว์ป่า
5. กินร้อน ช้อนกลาง อาหารปรุงสุก และไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
6. หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หรือใช้เจลล้างมือหรือแอลกอฮอล์
7. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งต่างๆในที่สาธารณะโดยเฉพาะบริเวณที่มีคนสัมผัสมาก
8. ไม่นำมือมาสัมผัสดวงตา จมูก และปากหากไม่จำเป็น
9. พักผ่อนให้เพียงพอ
10. หากมีอาการไข้ หรือระบบทางเดินหายใจมีปัญหา ให้รีบพบแพทย์โดยด่วนหรือโทรแจ้ง 1422 สายด่วนกรมควบคุมโรค เพื่อให้รถจากสถานพยาบาลมารับทันที



อาการของโรค : เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบ เราจึงควรหมั่นตรวจสภาพร่างกายของตนเองหากมีอาการผิดปกติ ซึ่งระยะฟักตัวของโรคจะมีระยะฟักตัวประมาณ 2 ถึง 14 วันหลังได้รับเชื้อ โดยอาการที่จะสังเกตได้หากติดเชื้อมีดังนี้

มีอาการตามทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม เป็นต้น และมีโอกาสเกิดอาการเจ็บหน้าอกเมื่อไอ จาม ด้วย
มีไข้ รู้สึกกระสับกระส่าย
โดย 2 แรกเป็นอาการขนานเบาทำให้ผู้ติดเชื้อคิดว่าป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดา จึงไม่ได้ไปโรงพยาบาล เมื่ออาการเข้าขั้นรุนแรงจนปอดอักเสบจึงเข้าโรงพยาบาล ทำให้รายงานผู้เสียชีวิตส่วนมากคือกลุ่มที่พบว่าติดเชื้อเมื่ออาการรุนแรงมากแล้ว
มีโอกาสที่จะมีอาการทางเดินหายใจอักเสบแบบเฉียบพลัน จนถึงปอดบวมและโรคแทรกซ้อน ดังนั้นในช่วงนี้หากมีอาการดังข้างต้นหรืออาการผิดปกติของร่างกาย ให้รีบไปตรวจร่างกายทันทีตั้งแต่อาการยังไม่หนัก เพื่อที่จะได้รีบรักษาได้ทันเวลา
การรักษา : ตอนนี้ยังไม่มียาตัวไหนต้านเชื้อไวรัสโคโรนาตัวนี้ได้โดยตรง และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่โรคนี้ไม่ใช่โรคที่รักษาไม่ได้ หากติดเชื้อแล้วจึงเป็นการรักษาตามอาการ และที่ผ่านมาก็มีผู้ป่วยหลายคนได้รับการรักษาจนหายดีแล้วทั้งในไทยและต่างประเทศ แต่ที่มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากเกิดอาการรุนแรงเฉียบพลัน หรือพบแพทย์ช้าเกินไปจนอาการรุนแรง



Cr. Photo by : engnews24h.com

เทียบกับ “รุ่นก่อน” : ความจริงแล้วไวรัสโคโรน่าไม่ใช่ชื่อใหม่สำหรับสาเหตุการระบาดของโรคทางเดินหายใจ แต่ก่อนหน้านี้เคยมีมาแล้วถึง 2 ครั้ง เพียงแค่เป็นโคโรน่าคนละสายพันธุ์กัน โดยโรคร้ายแรงที่เคยเกิดจากไวรัสโคโรน่า ได้แก่ โรคซาร์ (SARS) ระบาดจากจีนในช่วงปี ค.ศ. 2002 มีผู้ติดเชื้อกว่า 8,000 คน มีอัตราเสียชีวิต 10% และโรคเมอร์ส(MERS) ระบาดจากซาอุดิอาราเบียในปีค.ศ. 2012 มีผู้ติดเชื้อรวม 1,733 คน และมีอัตราเสียชีวิตสูงถึง 36% แต่โคโรน่าสายพันธุ์ใหม่นี้มีอัตราเสียชีวิตอยู่ที่น้อยกว่า 3% เท่านั้น รวมถึงการแสดงอาการและความเจ็บป่วยก็ไม่รุนแรงเท่า แต่ไม่ควรวางใจเพราะไวรัสทุกชนิดมีแนวโน้มจะกลายพันธุ์จนรุนแรงขึ้นได้

ความรุนแรงในการระบาด : แต่ด้วยความรุนแรงน้อยกว่านี้เอง ทำให้การแพร่ระบาดเกินขึ้นได้ง่ายกว่าตามหลักโรคระบาดทั่วไป คือการกระจายของโรคจะขึ้นอยู่กับความรุนแรง โรคที่มีความรุนแรงน้อยจะกระจายได้มากกว่า เพราะมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากที่อาจไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย ไม่ได้เป็นปอดบวมทุกราย ดังนั้นผู้ป่วยจึงสามารถเดินทางไปได้ไกลและแพร่โรค นอกจากนี้การแพร่ยังเกิดขึ้นได้ในระยะฝักตัว ที่ผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการใดๆออกมาเลย คนรอบตัวจึงติดเชื้อโดยไม่รู้ตัวได้ง่าย ทำให้ไวรัสโคโรน่าสามารถเกิดการระบาดในวงกว้างได้ทั่วโลกระดับ pandemic นั่นเอง

ขอขอบคุณบทความจาก amarintv.com และรูปภาพจาก media.ifrc.org ,engnews24h.com

————————————————————————————————————————————————————————————-

 

 

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy